หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 

 หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

     เมื่อปี ค.ศ.1961 ได้ก่อกำเนิดหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลก ซึ่งถูกคิดค้นโดยนายจอร์จ ดีวอล (George Devol) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เพื่อให้หุ่นยนต์ได้ทำงานที่อันตรายแทนมนุษย์ในโรงงานประกอบรถยนต์ แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวกระโดดไปได้ไกลมากขึ้น มนุษย์ได้คิดค้นและสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นเพื่อนร่วมงานของมนุษย์ นั่นก็คือ ‘Cobot’ หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้อย่างเฉลียวฉลาดและมีประสิทธิภาพ 








หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน

สำหรับ OEM ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย






หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

     นับจากหุ่นยนต์ตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกตั้งแต่ยุคก่อนคริสต์ศักราชโดยฝีมือของนักคณิตศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวกรีกด้วยการประดิษฐ์นกพิราบกลที่ขยับปีกขึ้นลงได้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนจากไอน้ำ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการคิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์อีกหลายตัวต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ.1961 มีวิศวกรชาวอเมริกาประดิษฐ์แขนกลหุ่นยนต์สำหรับงานอุตสาหกรรมเป็นตัวแรกของโลก เพื่อให้ทำงานอันตรายในโรงงานประกอบรถยนต์แทนมนุษย์ เรียกได้ว่าเป้าหมายในการพัฒนาหุ่นยนต์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

     จนถึงวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักหุ่นยนต์ เพราะหุ่นยนต์ในปัจจุบันได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้งานในหลากหลายมิติ นอกจากในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีด้านการแพทย์ การวิจัย เป็นผู้ช่วยในบ้าน ดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ และที่หลายคนอาจยังไม่รู้จักก็คือ หุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศในรูปแบบของ หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างวัตถุระเบิด’

     ในงาน Open House เปิดบ้านวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการแถลงข่าวเปิดตัว หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง รุ่น DYNA-T’ ที่คิดค้นและพัฒนาด้วยฝีมือของอาจารย์และนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.มานพ คงคานิธิ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการพัฒนา และเป็นโปรเจ็กต์สำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกรมสรรพาวุธทหารบก

     รศ.ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มพจ. กล่าวถึงความเป็นมาของหุ่นยนต์ดังกล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. มีการพัฒนานวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์แบบแขนกลมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เห็นได้จากงานอินโนเวชั่นโชว์เคสต่างๆ รวมถึงกิจกรรมของนักศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน ก็คือการร่วมแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก World Robocup Rescue ซึ่งคว้าแชมป์มาได้หลายครั้ง และจากที่ได้มีโอกาสทำงานทางด้านพัฒนานวัตกรรมเพื่อความมั่นคงกับหน่วยงานภาครัฐ เมื่อประสานกับองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ จึงเกิดเป็นความร่วมมือในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อมาทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศ

     ทั้งนี้ การเก็บกู้ทำลายระเบิดแสวงเครื่องก่อการร้ายถือเป็นภารกิจที่มีความเสี่ยงสูง จึงมีการออกแบบหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลพร้อมกับพัฒนาระบบปืนยิงน้ำแรงดันสูงหรือวอเตอร์แคนนอนซึ่งมีพลังทำลายล้างสูง ไร้แรงสะท้อนกลับ ใช้งานได้เทียบเท่าหรือดีกว่าของต่างประเทศในขณะที่ราคาถูกกว่าเกือบสิบเท่า

     พันโทยุทธศิลป์ มาสมบูรณ์ รองผู้บังคับหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธทหารบก กล่าวว่า หน่วยงาน EOD (EXPLOSIVE ORDNDNCE DISPOSAL มีภารกิจหน้าที่ทำลายล้างวัตถุระเบิด ไม่ว่าจะเป็นกระสุนปืนใหญ่ กระสุนปืนเล็ก ระเบิดขว้าง และระเบิดแสวงเครื่องที่กำลังเป็นปัญหาในปัจจุบัน โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ภาค 4 ส่วนหน้า ได้จัดซื้อระบบทำลายวัตถุระเบิด (หุ่นยนต์ ปืนน้ำ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ทั้งหมด 4 ชุด เพื่อมอบให้กับหน่วยงานทหารและตำรวจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีการนำไปใช้งานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว มีประสิทธิภาพเยี่ยม ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของหน่วย EOD ได้เป็นอย่างดี

     ในวันนั้นยังได้มีการเชิญทีมเก็บกู้วัตถุระเบิด EOD มาร่วมโชว์สาธิตการใช้งาน โดยมีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มาร่วมชมการสาธิตกันเป็นจำนวนมาก




หุ่นยนต์อัจฉริยะ

มาซาโยชิ ซน ซีอีโอ SoftBank Group เผยระหว่างการประชุมออนไลน์ SoftBank World 2021 ว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น เตรียมทุ่มสรรพกำลังกับหุ่นยนต์เต็มที่ในขณะที่หุ่นยนต์ Pepper กำลังจะโบกมือลา 

ADVERTISEMENT

ซนกล่าวว่ากองทุน Vision Fund สำหรับลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของ SoftBank เข้าไปลงทุนในบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่เสริมประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งล้ำกว่าหุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถเต้นและทักทายผู้คนได้

หลายปีก่อนเรามีอีเว้นต์ยิ่งใหญ่เปิดตัว Pepper แต่ตอนนี้มันกำลังอับอาย” ซนกล่าวขณะยืนอยู่หน้าหุ่นยนต์ Pepper ที่ถูกปิดสวิตช์ 

ขณะนี้ซีอีโอของ SoftBank กำลังมองไปยังอนาคตของหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ไม่เพียงจะมาแทนที่การผลิต แรงงานในอุตสาหกรรม แต่จะมาแทนที่แรงงานคนทั้งหมด

ADVERTISEMENT

ระหว่างที่ซนพูดจะปรากฏวิดีโอหุ่นยนต์หน้าตาเหมือนมนุษย์ (humanoid robot) ที่กำลังวิ่งและเต้น รวมทั้งหุ่นยนต์รูปทรงกระป๋องที่กำลังทำความสะอาดพื้น












ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น